วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ส่งรายงาน


รายการข่าว





นางสาว ศิวพร  หมายเจริญ    คาบเรียน  วันพุธเช้า







รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา  ทักษะทางสารนิเทศ (Information Literacy)
สาขา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะเทคโนโลยีการจัดการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555
...........................................................................................................


คำนำ
            รายงานเรื่อง รายการข่าวฉบับนี้ได้จัดทำเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ทักษะทางสารนิเทศ (Information Literacy) รหัสวิชา 00-021-101 ซึ่งรายงานเล่มนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
                เนื้อหาภายในรายงานได้มีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลความเป็นมาของรายการข่าว
ว่ามีกี่ประเภท ได้รู้ถึงวิธีการเสนอข่าว การทำรายการข่าว เป็นต้น  เพื่อให้ง่ายต่อ การศึกษาจึงได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของรายงาน
                สุดท้ายนี้หากรายงานฉบับนี้มีข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องประการใด ข้าพเจ้า ยินดีจะนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

                                                                                                                               
ศิวพร    หมายเจริญ
                                                                                                                   22  กันยายน




 .............................................................................................



สารบัญ
คำนำ                                                                                                               หน้า                                     สารบัญภาพประกอบ                                                                                       (ก)                                       บทที่                                                                                                                  (ข)
1   บทนำ                                                                                                          1                                                1.1 ความหมายของรายการข่าว                                                                              
    2    สื่อที่ให้บริการ                                                                                        1
            2.1  วิทยุกระจายเสียง                                                                                          1
            2.2   วิทยุโทรทัศน์                                                                                               2           
            2.3   อินเทอร์เน็ต                                                                                                 3
   3  ประเภทของข่าว                                                                                       4
                3.1 ข่าวเศรษฐกิจ                                                                                             4
                3.2 ข่าวเกษตรกรรม                                                                                         4
                3.3 ข่าวการศึกษา                                                                                              5
                3.4 ข่าวการเมือง                                                                                               5
                3.5 ข่าวกีฬา                                                                                                      6
                3.6 ข่าวบันเทิ                                                                                                  7
      4   สำนักข่าว                                                                                               9

                                              ........................................................................ 




สารบัญภาพประกอบ
ภาพที่                                                                                                                  หน้า
1    แสดงภาพ รายการข่าว                                                                                                      3
2    แสดงภาพ  ข่าวการศึกษา                                                                                                  5
3    แสดงภาพ  ข่าวกีฬา                                                                                                           7
4    แสดงภาพ ข่าวการเมือง                                                                                                     7
5     แสดงภาพ ข่าวบันเทิง                                                                                                       9
7   แสดงภาพ  สำนักข่าว                                                                                                         10


                               ...................................................................................




รายการข่าว
1.บททำ
    1.1ความหมาย
สำนักข่าวไทย (อังกฤษ: Thai News Agency ชื่อย่อ : สขท. ; TNA) เป็นหน่วยงานประกอบกิจการข่าวสาร ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ถือเป็นสำนักข่าวแห่งแรกของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] มีหน้าที่รับผิดชอบหลัก ในการ ผลิต รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และรายงานข่าว เพื่อนำเสนอออกอากาศ ทั้งทางวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต สื่อทางคอมพิวเตอร์ออนไลน์ และ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนนำข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้แลกเปลี่ยน กับกลุ่มความร่วมมือใน ต่างประเทศ และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน และนำเสนอข่าวในประเทศไทย ไปสู่นานา ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ยังเปิดศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาคอีก 4 แห่งคือ ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ ศูนย์ข่าวขอนแก่น ศูนย์ข่าว หาดใหญ่ และศูนย์ข่าวระยอง
        1.2 สื่อที่ให้บริการ
 สำนักข่าวไทย ให้บริการข่าวสาร ผ่านสื่อชนิดต่างๆ คือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต
                1.2.1   วิทยุกระจายเสียง
   สำนักข่าวไทย ดำเนินการผลิตข่าวแก่ สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ (ชื่อเดิม : สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และ สถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท.) เครือข่ายทั่วประเทศ, บริหารและผลิตรายการหลัก แก่สถานีวิทยุเอฟเอ็ม 100.5 เมกะเฮิร์ตซ์ รวมไปถึง จัดหา และผลิตรายการข่าว ภาคภาษาอังกฤษ แก่สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ เอฟเอ็ม 107.0 เมกะเฮิร์ตซ์



     วิทยุกระจายเสียง
1. เสนอข่าวได้รวดเร็วได้ทันที
 2. สามารถเสนอข่าวได้ในขณะที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น และสามารถติดตามเหตุการณ์ได้ตลอดไปเท่าที่จำเป็น
 3. เสนอข่าวได้บ่อยครั้ง อย่างน้อยที่สุด ทุกต้นชั่วโมง
 4. เสนอข่าวเพียงย่นย่อ
 5. เร้าความสนใจมากกว่าหนังสือพิมพ์
 6. ฟังได้ครั้งเดียวไม่สามารถย้อนกลับได้
 7. ต้องฟังตามเวลาที่กำหนด
 8. ขณะฟังวิทยุสามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นไปด้วยได้
 9. สามารถรับฟังได้ทุกเพศทุกวัย

   1.2.2  วิทยุโทรทัศน์
     สำนักข่าวไทย ดำเนินการผลิตรายการประเภทรายงานข่าว แก่สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ชื่อเดิม : สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.) โดยรายการที่ออกอากาศ เป็นรายการสดทั้งหมด ได้แก่ เช้าข่าวข้น คนข่าวเช้า (มีสถานะเทียบเท่าข่าวเช้า ซึ่งสขท.ร่วมผลิตกับเครือเนชั่น), ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ, ข่าวต้นชั่วโมง และแถบอักษรข่าววิ่ง
นอกจากนี้ สขท.ยังผลิตรายการประเภทรายงานข่าวเศรษฐกิจ รายงานข่าวบันเทิง การวิเคราะห์ข่าวในประเทศและต่างประเทศ เพื่อออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ได้แก่รายการ จับเงินชนทอง, ข่าวข้นคนข่าว (ร่วมผลิตกับเครือเนชั่น), ไนน์เอ็นเตอร์เทน, คุยโขมงบ่าย 3 โมง เป็นต้น
      วิทยุโทรทัศน์
1. ไม่สามารถนำเสนอข่าวได้รวดเร็วเท่ากับวิทยุ เพราะมีข้อจำกัดเรื่องภาพ และการตัดสัญญาณจากรายการปกติ
2. เสนอข่าวได้เช่นเดียวกับวิทยุแต่อาจมีปัญหาในการติดตั้งอุปกรณ์
3. เสนอข่าวได้น้อยกว่ารายการวิทยุ
4. แม้จะให้รายละเอียดได้มากกว่าวิทยุ แต่ก็น้อยกว่าหนังสือพิมพ์
5. เร้าความสนใจผู้ชมมากที่สุดเพราะมีทั้งภาพและเสียง
6. ฟังได้ครั้งเดียวไม่สามารถย้อนกลับได้
7. ต้องชมตามเวลาที่กำหนด
8. ต้องตั้งใจชมและฟัง ยกเว้นต้องการเพียงรับฟังอย่างเดียว
9. สามารถรับชมได้ทุกเพศทุกวัย

  1.2.3   อินเทอร์เน็ต   
สำนักข่าวไทย ให้บริการข่าวสารต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ http://tna.mcot.net และยังให้บริการข่าวสารดังกล่าว เป็นภาษาอังกฤษ ผ่านทางเว็บไซต์ http://etna.mcot.net อีกด้วย ภายในเว็บไซต์ รวบรวมรายละเอียดข่าวต่างๆ ที่นำเสนอแล้ว ผ่านทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี และ โมเดิร์นเรดิโอ ในรูปแบบคลิปวิดีโอ และคลิปเสียง

นอกจากนี้ สขท.ยังให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นพิเศษสำหรับสมาชิก ซึ่งต้องการนำไปใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจ หรือเพื่อเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ โดยให้บริการผ่านเว็บเพจ http://tnanews.mcot.net ซึ่งจำเป็นต้องให้ข้อมูลเพื่อสมัครเป็นสมาชิกเสียก่อน จึงจะสามารถเข้าไปใช้บริการทั้งหมดได้ โดยมีบริการข่าวสาร ในหลากหลายหมวดหมู่ และสามารถค้นหาย้อนหลังได้ด้วย

1.3  ประเภทของข่าว
    1.3.1  ข่าวเศรษฐกิจ
         เศรษฐกิจคือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค ซึ่ง  ความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่าง   
จากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้าง ดังนี้  
         การผลิต    คือการกระทำเพื่อให้เกิดผลที่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ หากการกระทำใด ซึ่ง  ผลของการกระทำแม้จะมีคุณค่ามีประโยชน์แต่ไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ การกระทำนั้นใน  ความหมายทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นการผลิต และผลของการกระทำ
ก็ไม่เรียกผลผลิต อาจจะเรียกเป็นผลงาน   
         การจำหน่าย คือการนำผลผลิตไปเสนอต่อผู้ที่มีความต้องการ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การ  นำผลผลิตไปสู่ตลาด เพื่อให้เกิดการซื้อขายกันขึ้น
คำว่าเศรษฐกิจ” (Economy) มาจากกรีกว่า “oikos” แปลว่าบ้าน(House) และ “Nemein” แปลว่า การจัดการ (to manage) ถ้าแปลตามศัพท์ เศรษฐกิจจึงหมายถึง การจัดการครอบครัว (Household management) คือ มีความชำนาญในการจัดการเรื่องครอบครัว (Skilled in the management of a household) ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Economics” หรือ เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์การศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ ก็คือการศึกษาถึงวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งในวิชาสังคมศาสตร์ศึกษาถึงเรื่องของมนุษย์ และเศรษฐกิจควบคู่กันไป การศึกษาเรื่องเศรษฐกิจจึงเป็นการศึกษาในวิชาเศรษฐศาสตร์นั้นเอง
1.3.2  ข่าวเกษตรกรรม
       ข่าวเกษตรกรรม (อังกฤษ: Agriculture) หมายถึง ข่าวทางด้านกระบวนการผลิตอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยวิธีการเพาะปลูกพืช มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "กสิกรรม" และวิธีการเลี้ยงสัตว์ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ อย่างเป็นระบบ ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเรียกว่า เกษตรกรแรงงานจำนวน 42% ของทั้งโลกอยู่ในภาคเกษตรกรรม จึงถือว่าเป็นกลุ่มอาชีพที่แพร่หลายที่สุด 
1.3.3   ข่าวการศึกษา
     ข่าวทางการศึกษาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย รวดเร็ว ฉับไว อัพเดทข่าวสารการศึกษาทันใจ เชื่อถือได้ การศึกษา ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด เป็นวิธีการซึ่งส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง[1] โดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คน ๆ หนึ่งคิด รู้สึกหรือกระทำ ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ การสอนในสถานศึกษา

1.3.4  ข่าวการเมือง
       การเมือง (อังกฤษ: politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา
       ในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์ มุมมองที่ใช้พิจารณาการเมืองหรือพูดเป็นศัพท์ทางวิชาการก็คือแนวการศึกษาวิเคราะห์การเมือง (Approach to Political Analysis) ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ใครจะเห็นว่าแนวการมองการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงต่อการอธิบายความเป็นการเมืองได้มากที่สุด โดยคำว่า การเมืองนี้ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียด ตามแต่จะใช้ตัวแบบใดในการศึกษาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมือง และด้วยตัวแบบที่เป็นกรอบในการศึกษาวิเคราะห์นี้ จะยังผลให้กรอบการมองคำว่าการเมืองต่างกันไป ในขณะที่สาระสำคัญของคำจำกัดความเป็นไปในทำนองเดียวกันกล่าวคือเป็นเรื่องของการใช้อำนาจแบบสองทางระหว่างฝ่ายที่เป็นผู้ปกครอง (Rulers) และฝ่ายผู้ถูกปกครอง (Ruled) ดังจะได้ยกมากล่าวถึง ซึ่งสำหรับผู้ศึกษารัฐศาสตร์มือใหม่แล้ว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่าการเมืองนั้น จึงดูจะเป็นเรื่องที่สร้างความสับสนอยู่มิใช่น้อย เนื่องมาจากความหมายของการเมืองที่ปรากฏอยู่ในตำราเล่มต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นเผยแพร่นั้นมีอยู่หลากหลายต่างกันไปตามความเจตนารมณ์และมุ่งประสงค์ในการนำความหมายของการเมืองเพื่อไปอธิบายปรากฏการณ์ของผู้ให้คำนิยามความหมายของการเมือง
1.3.5  ข่าวกีฬา
      กีฬา ประกอบด้วยกิจกรรมปกติหรือทักษะที่อยู่ภายใต้กติกาซึ่งถูกกำหนดโดยความเห็นที่ตรงกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อน การแข่งขัน ความเพลิดเพลิน ความสำเร็จ การพัฒนาของทักษะ หรือหลายสิ่งรวมกัน กีฬาเป็นกิจกรรมที่ควบคู่กับการแข่งขัน และระบบคะแนน กีฬาหลายประเภทได้มีการจัดการแข่งขันในระดับเขต ประเทศ และระดับโลก ซึ่งกีฬาหลายชนิดได้มีการใส่เข้าและนำออกโดยการปรับปรุงของทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เช่น รักบี้ ลาครอสส์ หรือ โปโล
     กีฬาโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Games, ฝรั่งเศส: les Jeux olympiques, JO) หรือโอลิมปิกส์ (อังกฤษ: Olympics) สมัยใหม่ เป็นการแข่งขันระหว่างประเทศที่สำคัญ ทั้งกีฬาฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยมีนักกีฬาหลายพันคนเข้าร่วมการแข่งขันหลายชนิดกีฬา กีฬาโอลิมปิกถูกมองว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก โดยมีประเทศเข้าร่วมกว่า 200 ประเทศ[1] ปัจจุบัน กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นทุกสองปี ผลัดกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อนกับโอลิมปิกฤดูหนาว หมายความว่า โอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาวจะจัดห่างกันสี่ปี การสร้างสรรค์กีฬาโอลิมปิกได้รับแรงบันดาลใจจากีฬาโอลิมปิกโบราณ ซึ่งจัดขึ้นในโอลิมเปีย กรีซ จากศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 บารอน ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ใน พ.ศ. 2437 นับแต่นั้น ไอโอซีกลายเป็นองค์การดูแลกระบวนการโอลิมปิก (Olympic Movement) โดยมีกฎบัตรโอลิมปิกนิยามโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ

1.3.6  ข่าวบันเทิง
     การบันเทิง คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน อาทิ
          ภาพยนตร์ คือ เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายในลักษณะที่แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง
       ดนตรี (อังกฤษ: music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้
          ละครเวที    (play หรือ stageplay)ละครเพลงซึ่งเน้นการร้องมากกว่าคาดกันว่าละครเวทีมีมาตั้งแต่สมัยกรีก อริสโตเติลบันทึกไว้ว่าละครของกรีก เริ่มต้นขึ้นจากการกล่าวคำบูชาเทพเจ้าไดโอนีซุส เทพเจ้าแห่งไวน์และความอุดมสมบูรณ์จุดเด่นของละครเวทีคือ การสื่อสารระหว่างผู้ชมกับนักแสดง การสื่อสารระหว่างผู้ชมและนักแสดงเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน วอลเตอร์ เคอร์ นักวิจารณ์ชาวอเมริกันพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับนักแสดงเช่นนี้ไม่มีในภาพยนตร์ เพราะภาพยนตร์เป็นสิ่งที่สร้างมาสำเร็จรูปแล้ว มันไม่สามารถตอบสนองเราได้ เพราะนักแสดงในภาพยนตร์ไม่สามารถได้ยินเรา รู้สึกถึงตัวตนของเราและไม่ว่าเราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรก็ไม่มีผลใดๆ"องค์ประกอบของละครเวที คือ การแสดงสดบนเวที ที่มีฉาก แสง เสียง ประกอบ และบทละคร คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำละครทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครเวที เพราะมันคือ ตัวกำหนดองค์ประกอบอื่นๆ ทุกอย่างในละคร ไม่ว่าจะเป็น โครงของเรื่อง ,สีสันของแสง ของฉาก ของเสื้อผ้า และรวมไปถึงการแสดง (acting) ของนักแสดงด้วย
         สวนสนุก คือ สถานที่ที่ให้บริการเครื่องเล่นต่างๆ เช่น รถไฟเหาะตีลังกา เรือไวกิ้ง รวมถึงมีการแสดง เช่น โชว์พาเหรด การ์ตูนโชว์ บางที่ก็ จัดให้มีสวนน้ำ จุดมุ่งหมาย คือให้ ผู้มาใช้บริการได้พักผ่อนหย่อนใจ โดยมากลูกค้ามักจะเป็นเด็ก ๆ และครอบครัว สวนสนุกในความหมายของไทยรวมลักษณะอื่นของ ธีมปาร์ค (Theme Park) หรือ อุทยานแนวคิดอื่น ๆ เข้าไป เช่น สวนสนุกที่มีแนวคิดเป็นเมืองภาพยนตร์ เช่น มูฟวี่เวิร์ล (Movie World) ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอ (Universal Studio) บางแห่งก็รวมเอาสวนสัตว์ เข้าไปด้วย หรืออาจผนวกเข้ากับอุทยานเพื่อการเรียนรู้อื่น ๆ ที่แทรกส่วนบันเทิงเข้าไป เช่น พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

1.4  สำนักข่าว
     1.4.1 บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด
         สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. เป็นสถานีโทรทัศน์แบบไม่เก็บค่าบริการจากผู้รับชมแห่งที่ 4 ของประเทศไทย และเป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นเรื่องความบันเทิง ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 เวลา 10:00 น. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ความถี่ต่ำ ทางช่อง 3 จนถึงปี พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ทางช่อง 32 มีคำขวัญประจำสถานีฯ ว่า คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3 และมี นายประสาร มาลีนนท์ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 แทนนายประวิทย์ มาลีนนท์ ที่ขอลาออกเนื่องจากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ
1.4.2   บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
      บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: MCOT Public Company Limited; ชื่อย่อ: บมจ.อสมท, MCOT PCL.) เป็นรัฐวิสาหกิจในรูปบริษัทมหาชนจำกัด และเป็นกิจการสื่อสารมวลชน ภายใต้การกำกับของรัฐบาลไทย โดยสำนักนายกรัฐมนตรี ประกอบธุรกิจสื่อสารมวลชน อันประกอบด้วย กิจการวิทยุโทรทัศน์ แพร่ภาพออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยระบบสี 625 เส้น จากสถานีแม่ข่ายในกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่ายในภูมิภาคจำนวน 35 สถานี มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมเกือบทั่วประเทศไทย ทางช่อง 9 ในชื่อ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ และยังมีสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอีก 2 ช่อง ออกอากาศสถานีละ 24 ชั่วโมง คือ เอ็มคอททีวี และ อาเซียนทีวี แพร่ภาพออกอากาศทาง โทรทัศน์เคเบิลทรูวิชั่นส์ ของ อสมท ในระบบดิจิตอล กิจการวิทยุกระจายเสียง ส่งกระจายเสียงด้วยระบบเอฟเอ็ม ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค จำนวน 35 สถานี และในระบบเอเอ็ม ในส่วนกลาง 2 สถานี สำนักข่าวไทย ดำเนินการผลิต รวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข่าวสาร ทั้งทางสื่อโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียง รวมไปถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ตั้งปัจจุบัน ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 63/1 ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

   1.4.3   บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
             สถานีโทรทัศน์เคเบิลทรูวิชันส์ หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อเดิมว่า ยูบีซี เป็นสถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[ใครกล่าว?] บริหารงานโดย บริษัท ทรู วิชันส์ จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) มีคำขวัญว่า เปิดชีวิตมุมมองใหม่ เปิดทรูวิชันส์ สำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารทิปโก ถนนพระรามที่ 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีสุภกิต เจียรวนนท์ เป็นประธานคณะกรรมการบริษัท/กรรมการบริหาร และธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ เป็นกรรมการผู้จัดการ


     ........................................................................................................................................................................


บรรณานุกรม
ข้อมูลจากเว็บ
   วิกิพีเดีย.  (2555).  รายการข่าว.  ค้นเมื่อ 18 กันยายน 2555, จาก